วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

นิสัยและพฤติกรรมของชูการ์ไกรเดอร์

       ชูการ์ไกรเดอร์ เป็นสัตว์สังคมชอบอาศัยรวมอยู่กันเป็นฝูง ชูการ์มีนิสัยขี้เล่น ขี้อ้อน ชอบปีนป่าย เนื่องจากชูการ์เป็นสัตว์หากินตอนกลางคืนทำให้นิสัยอีกอย่างที่สำคัญ คือ ขี้เซา



       ชูการ์เด็ก(อายุแรกเกิดถึง 4 เดือน)
จะมีใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนอนพักผ่อน ขี้ตกใจ กลัวง่าย ในชูการ์ช่วงอายุนี้คือวัยที่เหมาะกับการเริ่มเลี้ยงเพราะชูการ์จะเริ่มมีพฤติกรรมเรียนรู้ จำเจ้าของ แรกๆอาจมีการขู่ คือ จะส่งเสียงร้องและยกมือหน้า 2 มือขึ้นมาเตรียมตบ


       ชูการวัยรุ่น(อายุ 4 เดือน ถึง 1 ปี)
จะเริ่มซุกซน ชอบแทะ ชอบปีนป่าย เริ่มอยากผจญภัย ออกสำรวจพื้นที่และทำอาณาเขตของตัวเอง ชูการ์ในวัยนี้จะชอบวิ่งเล่น ปีนป่ายที่สูงๆ เริ่มมีการหัดร่อน และเริ่มมีการผสมพันธุ์เพื่อขยายเผ่าพันธุ์


       ชูการ์ผู้ใหญ่(อายุ 1 ปีขึ้นไป)
ในวัยนี้จะเริ่มซุกซนน้อยลง นอนมากขึ้น กินอาหารมากขึ้นทำให้ชูการ์ในวัยนี้ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างอ้วนท้วมสมบูรณ์มาก เจ้าของควรนำไปตรวจสุขภาพทุก 6 เดือน เพื่อถ่ายพยาธิและเช็คสุขภาพของเจ้าตัวน้อยให้แข็งแรงอยู่กับเราไปนานๆ

มาทำความรู้จักชูการ์ไกรเดอร์กัน


       ชูการ์ไกรเดอร์ หรือที่บางครั้งเรียกกันว่า จิงโจ้บิน(อังกฤษ : Sugar glider , ชื่อวิทยาศาสตร์ : Petaurus breviceps) เป็นนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องจำพวกพอสซั่ม เนื่องจากในตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าาท้อง ใช้สำหรับให้ลูกอ่อนอยู่อาศัจนกว่าจะโตได้

       ชูการ์ไกรเดอร์มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกับกระรอกบินมาก แต่เป็นสัตว์คนละอันดับกัน เนื่องจากกระรอกบินเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ

       ชูการ์ไกรเดอร์เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ 6-10 ตัวขึ้นไป และแต่ละฝูงจะมีการกำหนดอาณาเขตของตัวเองอย่างชัดเจน ซึ่งตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูงจะมีการปล่อยกลิ่นเพื่อกำหนดอาณาเขตของตนเอง อายุโดยเฉลี่ย 10-15 ปี ตามธรรมชาติแล้วชุการ์ไกรเดอร์จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ ดังนั้นจึงมีเล็บที่แหลมคมใช้เกาะเพื่อกระโดดข้ามจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง

       ขนของชูการ์จะมีลักษณะนุ่มมาก บริเวณข้างลำตัวจะมีพังผืดซึ่งสามารถกางได้จากขาหน้าไถึงขาหลังเพื่อลู่ลมเวลาร่อน เหมือนเช่นกระรอกบินหรือบ่าง

       ชูการ์ไกรเดอร์เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน อาหารหลัก คือ แมลง ส่วนผลไม้จะถือเป็นอาหารรอง เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวจากจมูกถึงปลายหางประมาณ 11 นิ้ว

       ชูการ์ไกรเดอร์แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ปาปัวนิวกินี จนถึงออสเตรเลียทางซีกตะวันออก สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิด ย่อยๆ ด้วยความน่ารักประกอบกับเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็กและมีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าว ทำให้ชูการ์ไกรเดอร์นิยมนำมาเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง ในปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว